ทำไมลายมือหมออ่านยาก? ป้องกันปัญหาที่อาจตามมาด้วยระบบ HIS
- MEDcury Team
- 18 เม.ย.
- ยาว 2 นาที
ทำไมลายมือหมอถึงอ่านยาก และการที่ลายมืออ่านยากเป็นผลเสียอย่างไรต่อการรักษาพยาบาล แล้วปัญหาที่ตามมาจากการตีความลายมือผิดจะแก้ไขด้วยการบันทึกข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างระบบ HIS ได้อย่างไรบ้าง

Key Takeaways
ลายมือหมอที่อ่านยากนั้นมีสาเหตุมาจากข้อมูลจำนวนมากที่ต้องจดบันทึกในระยะเวลาที่จำกัด ทำให้หมอให้ความสำคัญกับความรวดเร็วมากกว่าลายมือที่สวยงาม
การที่ลายมืออ่านยากเป็นผลเสียต่อการรักษาโดยตรง หากอ่านผิดพลาดก็อาจทำให้รักษาผิด จ่ายยาผิด ส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องทางกฎหมายได้ โดยปัญหานี้แก้ได้ด้วยการปรับใช้เทคโนโลยีอย่างระบบ HIS ซึ่งทำให้การบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ลายมือหมอถือเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครอ่านออก ยกเว้นพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกัน โดยลายมือหมอส่วนใหญ่มักเป็นลายเส้นที่เขียนแบบเร็ว ๆ ซึ่งลายเส้นเหล่านี้ล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกับอาการ และการตรวจรักษาคนไข้ทั้งสิ้น วันนี้ MEDcury จะพาทุกคนไปดูสาเหตุที่ลายมือของหมอนั้นอ่านยาก พร้อมพาไปดูว่าการที่ลายมืออ่านยากเป็นผลเสียอย่างไร และจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง?
ทำไมลายมือหมอถึงอ่านยาก?

1. ระยะเวลาตรวจรักษาที่จำกัด
ด้วยสัดส่วนจำนวนหมอในประเทศไทยที่มีน้อยกว่าจำนวนประชากร ทำให้หมอมีเวลาตรวจรักษาคนไข้น้อยลงไปอีก เพราะหมอจะมีรอบตรวจทั้ง OPD (แผนกผู้ป่วยนอก) และ IPD แผนกผู้ป่วยใน โดยเฉพาะในโรงพยาบาลรัฐ ที่หมอจะรับภาระงานหนักขึ้น อาจต้องตรวจผู้ป่วยมากถึง 40-80 คนต่อวัน ทำให้เวลาในการตรวจรักษาน้อยลงไปอีก
ตัวอย่างเช่น หากหมอเข้าเวร 3 ชั่วโมง จะตรวจผู้ป่วยได้ประมาณ 45-60 คน โดยใช้เวลาเฉลี่ย 3-4 นาทีต่อคน ดังนั้นเวลาที่จะใช้จดบันทึกการรักษาต่าง ๆ ก็จะน้อยลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่ยังใช้กระดาษบันทึกข้อมูล โดยไม่มีการบันทึกลงระบบ HIS หรือช่องทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
2. หมอต้องจดบันทึกข้อมูลหลายอย่าง
สำหรับการรักษาคนไข้แต่ละคนนั้น หมอจะต้องบันทึกข้อมูลต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการ การวินิจฉัยโรคหรือภาวะที่คนไข้อาจเป็น รวมถึงรหัสโรค (ICD-10) ที่ใช้สำหรับประกันสุขภาพ นอกจากนี้หมอยังต้องเขียนแผนการรักษาไม่ว่าจะเป็นการสั่งยา การส่งตรวจเพิ่ม และนัดหมายครั้งถัดไป รวมถึงใบรับรองแพทย์ด้วย
ดังนั้นหากเป็นโรงพยาบาลที่ไม่มีระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) หมอก็จะต้องบันทึกข้อมูลเหล่านี้ลงในกระดาษทั้งหมด ซึ่งจะมีระยะเวลาอันน้อยนิดมาเป็นตัวกำหนดให้หมอเขียนลายมือที่อ่านยากขึ้นนั่นเอง
3. ใช้คำย่อหรือคำเฉพาะ
ถึงแม้ว่าลายมือหมอจะดูเป็นลายเส้นหยึกหยักอ่านไม่เป็นคำ แต่ทั้งหมดที่เขียนลงไปบนกระดาษล้วนมีความหมาย โดยส่วนมากหมอมักจะใช้คำย่อเฉพาะทาง หรือเขียนเน้นตัวอักษรตัวแรกให้เด่น เพื่อประหยัดเวลา เช่น เกณฑ์ปกติจะเขียนว่า Within Normal Limits ก็จะเขียนสั้น ๆ ว่า WNL โดยเขียน W ให้เด่น พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ ก็จะจับใจความจาก W เป็นหลัก
4. ไม่มีระบบอำนวยความสะดวก
สำหรับโรงพยาบาลที่ไม่ได้ใช้ระบบโรงพยาบาลหรือ Hospital Information System หรือ HIS รวมถึงไม่ได้ใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์หรือ EMR (Electronic Medical Record) หมอจะเป็นผู้ที่ต้องจดบันทึกทุกอย่างในการตรวจลงไปในกระดาษ ซึ่งจะต้องทำไปพร้อม ๆ กับการตรวจรักษา ยิ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีภาระงานมาก หมอก็จะต้องเร่งความเร็วในการเขียนมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลต่อความสวยงามโดยตรงนั่นเอง
5. ความแม่นยำสำคัญกว่า
เพราะการรักษาพยาบาลเป็นงานที่ความถูกต้อง แม่นยำ จะต้องมาก่อน ลายมือหมอจึงไม่จำเป็นจำต้องสวยงาม แต่เนื้อหาจะต้องกระชับ เข้าใจได้ในเวลาอันสั้น โดยเฉพาะในสถานการณ์เร่งด่วน การวินิจฉัยและจดบันทึกที่รวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้เร็วมากขึ้นตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามทั้งความถูกต้องและบันทึกที่อ่านเข้าใจง่าย ก็ควรเป็นของที่มาคู่กัน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การที่ลายมือหมออ่านยากเป็นผลเสียอย่างไรต่อการรักษา?

1. การรักษาผิดพลาด
ลายมือหมอที่อ่านยากอาจทำให้ข้อมูลหรืออาการที่สำคัญของคนไข้ถูกตีความผิดพลาด โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่หมอหลายคนให้การรักษา ซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้เลย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการรักษา อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทำให้โรงพยาบาลเสื่อมเสียชื่อเสียง และอาจมีประเด็นฟ้องร้องตามมาได้
2. การจ่ายยาผิดพลาด
ลายมือหมอที่อ่านยากอาจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งการแพทย์ต่าง ๆ และใบสั่งยา ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือผู้ป่วยเอง โดยลายมือหมอที่อ่านยากอาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยา ไม่ว่าจะเป็นยาผิดชนิด การสั่งจ่ายยาในปริมาณและโดสยาที่ไม่เหมาะสม วิธีใช้ยาที่ผิด ไปจนถึงอาจผ่าตัดหรือทำหัตถการผิดพลาดได้
ตัวอย่างเช่น บุคลากรทางการแพทย์เขียนเลข 1 ใกล้เคียงกับเลข 7 สร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน การลืมใส่จุดทศนิยม หรือเขียนตัวเลขชิดกันมากจนแยกไม่ออก จาก 1.0 ก็อาจกลายเป็น 10 ได้ ส่งผลให้อาจสั่งจ่ายยาผิดพลาดนั่นเอง
3. การรักษาล่าช้า
เมื่อหมอ พยาบาล หรือบุคลากรด้านอื่น ๆ ต้องเสียเวลาถอดความหมายจากลายมือที่อ่านไม่ออก ย่อมส่งผลต่อความรวดเร็วในการให้บริการผู้ป่วย เช่น การส่งต่อผู้ป่วยไปยังแผนกอื่น การจ่ายยา โดยถ้าหากเป็นภาวะฉุกเฉินด้วยแล้ว ความล่าช้าเพียงไม่กี่นาที ก็อาจทำให้ผลลัพธ์ทางการรักษาแย่ลงได้
4. ปัญหาการสื่อสารภายใน
หลังจากที่แพทย์วินิจฉัยโรคเรียบร้อยแล้ว จะต้องบันทึกลงในใบรายงานการตรวจ และเขียนใบสั่งยา รวมถึงเขียนใบรับรองแพทย์ด้วย โดยเอกสารเหล่านี้จะต้องถูกส่งต่อให้กับพยาบาล เภสัชกร อาจรวมไปถึงนักกายภาพ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอีกด้วย
ถึงแม้ว่าหมอพยาบาลด้วยกันจะอ่านลายมือหมอที่อ่านยากกันเป็นประจำ หรือพอจะเดาคำศัพท์ต่าง ๆ ได้อยู่แล้ว แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้อยู่ดี หรืออาจจะทำให้เสียเวลาสอบถามเพิ่มเติมในกรณีที่อ่านไม่ออกจริง ๆ
5. เกิดผลกระทบทางกฎหมา
ไม่ว่าจะเป็นลายมือหมอที่เขียนเพื่อสั่งยา ส่งตรวจ หรือส่งต่อไปยังแผนกเฉพาะทางอื่น ๆ หากเป็นลายมือที่อ่านยาก นอกจากจะสร้างความลำบากในการรักษาแล้ว หากเกิดความผิดพลาดที่นำไปสู่ประเด็นทางกฎหมาย หมอหรือโรงพยาบาลก็อาจถูกฟ้องร้องได้
ลายมือที่เขียนอาจใช้เป็นข้อมูลทางกฎหมายได้ยาก หากเปลี่ยนเป็นการบันทึกแบบดิจิทัล จะช่วยให้ตรวจสอบย้อนหลังได้สะดวก เป็นการป้องกันด้านกฎหมายที่ดีอีกทางหนึ่งด้วย
6. ปัญหาด้านกระบวนการเบิกจ่าย
การเขียนเอกสารทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น ใบรับรองแพทย์ แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น ด้วยลายมือที่อ่านยาก อาจทำให้เกิดความยุ่งยากและล่าช้าในการดำเนินการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากทั้งภาครัฐและเอกชน
เพราะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องเสียเวลาตีความข้อมูล และอาจนำเข้าข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน โดยเฉพาะรหัสโรคและหัตถการ (ICD-10) ส่งผลให้เกิดผลกระทบในการเรียกเก็บเงินและเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่อาจนำไปสู่การปฏิเสธการเรียกร้องหรือความล่าช้าในการคืนเงิน
7. กระทบต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาล
เมื่อลายมืออ่านยากและไม่ชัดเจนเป็นเหตุให้เกิดความความผิดพลาดในการรักษา หรือคุณภาพในการรักษาลดลง จนผู้ป่วยต้องเสี่ยงได้รับอันตราย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยหลาย ๆ คนจึงอาจมีการร้องเรียน หรืออาจรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายเลยทีเดียว ส่งผลให้โรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งสำหรับการดำเนินคดีทางด้านกฎหมาย และเพื่อเยียวยาช่วยเหลือผู้ป่วยหรือครอบครัวของผู้ป่วย
นอกจากนี้ยังทำให้โรงพยาบาลเสื่อมเสียชื่อเสียงในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว ทั้งจากการบอกกันปากต่อปาก และผ่านโซเชียลมีเดีย จนไปถึงการถูกนำเสนอโดยสำนักข่าว นี่จึงอาจกระทบต่อชื่อเสียงที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของโรงพยาบาลอย่างรุนแรง และอาจทำให้รายได้ของโรงพยาบาลลดลงอีกด้วย
3 วิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลใหเป็น Paperless Hospital แก้ปัญหาลายมือหมออ่านยาก
1. นำระบบสารสนเทศโรงพยาบาลเข้ามาใช้งาน
ระบบ HIS หรือ Hospital Information System ช่วยปลดล็อกความสามารถในการบันทึกและเก็บเอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบออนไลน์ที่ต้องอาศัยด้วยการพิมพ์หรือกดเลือกตัวเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการถอดรหัสลายมือ รวมถึงลดความผิดพลาดจากการอ่านลายมือหมอคลาดเคลื่อนออกไปได้อีกด้วย
สนใจเรื่องระบบโรงพยาบาลอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ระบบโรงพยาบาลคืออะไร? กับความสำคัญในการดำเนินงานในโรงพยาบาล
2. ใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เวชระเบียนกระดาษ
การใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Records: EMR) แทนเวชระเบียนกระดาษ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ลดการพึ่งพาเอกสารที่เขียนด้วยลายมือ ผลลัพธ์ปลายทางจึงช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีต้นเหตุมาจากการเขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก
3. ใช้เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
ในแต่ละวันบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจำเป็นต้องออกเอกสารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองแพทย์ การบันทึกทางการพยาบาล และอื่น ๆ อีกมากมาย หากเปลี่ยนเอกสารเหล่านี้จากบนกระดาษให้ไปอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนได้ ก็จะช่วยลดปัญหาที่ตามมาจากลายมือหมอที่อ่านยากอีกด้วย
ระบบ Paperless ช่วยขจัดปัญหาที่เกิดจากลายมือหมออ่านยากได้อย่างไร?
ทั้ง 3 วิธีข้างต้นจะทำให้กระบวนการทำงานระหว่างโรงพยาบาลที่เป็น Paperless Hospital และโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็น Paperless Hospital แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง MEDcury ได้ทำรูปภาพนี้ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบให้ทุกคนเห็นภาพกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น มาดูกันเลย

สุดท้ายแล้วการเปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษหรือ Paperless Hospital จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการรักษา ซึ่งส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้ป่วยเองก็ได้ประโยชน์ นอกจากนี้โรงพยาบาลยังสามารถลดการใช้ทรัพยากรได้อีกมหาศาลเลยอีกด้วย
MEDHIS และ MEDHIS Lite ระบบ HIS สำหรับโรงพยาบาลและคลินิก

ระบบที่ได้มาตรฐานถือเป็นทางออกของการพัฒนาโรงพยาบาล คลินิก และสถานพยาบาลประเภทอื่น ๆ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสถานพยาบาลดิจิทัล MEDcury พร้อมให้บริการระบบ Hospital Information Systems ที่ออกกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการทำงานรวดเร็ว ราบรื่น โดยมีให้เลือกทั้งสำหรับโรงพยาบาลและคลินิก ได้แก่
ระบบ MEDHIS สำหรับโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในรูปแบบ Web-based ที่มีเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์หรือ EMR มาพร้อมโมดูลมากกว่า 21 โมดูล สำหรับงานด้านต่าง ๆ ในโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน พร้อมด้วยเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบ ERP ทำให้การทำงานระหว่างแผนกเป็นไปอย่างราบรื่น ไร้รอยต่อ
ระบบ MEDHIS Lite ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสำหรับคลินิก และสถานพยาบาลขนาดเล็กถึงกลาง เช่น คลินิกเสริมความงาม มาพร้อมโมดูล 15 โมดูล ตอบโจทย์การใช้งานรอบด้านด้วยยระบบ CRM ตอบโจทย์การแข่งขันในยุคดิจิทัลอย่างครบถ้วน
นอกจากการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพ ไร้รอยต่อแล้ว การใช้งานระบบ HIS ที่ได้มาตรฐานยังช่วยสนับสนุนให้โรงพยาบาล มีสิทธิ์ได้รับมาตรฐาน EMRAM จาก HIMSS (Healthcare Information and Management Systems Society) เป็นการยกระดับสถานพยาบาลให้ได้มาตรฐานระดับสากลอีกด้วย
สนใจปรึกษาระบบ MEDHIS และ MEDHIS Lite สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่
โทรศัพท์: 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)
อีเมล: sales@medcury.health
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น
Facebook: facebook.com/medcury.health/
LinkedIn: linkedin.com/company/medcury
YouTube: https://www.youtube.com/@MEDcury