top of page

มัดรวม 10 คำย่อในระบบ HIS ไว้ที่เดี่ยว [EP.1]

มัดรวม 10 คำย่อในระบบ HIS ไว้ที่เดี่ยว ไม่ว่าจะเป็น EMR, EHR, RBAC และอื่น ๆ

ในแต่ละวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามักจะมีคำศัพท์เฉพาะทาง (Technical Words) หรือคำย่อ (Acronyms) ที่มักโผล่ในข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้น ๆ จนบางครั้งก็เดากันไม่ออกและเกิดความสงสัยว่าคำศัพท์หรือคำย่อที่เหล่านี้มีความหมาย บริบท หรือวิธีการใช้งานที่เหมือนหรือต่างกันกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างไร


ซีรีส์ HealthTech 101 จาก MEDcury จะพูดถึงคำศัพท์เฉพาะทางหรือคำย่อต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ (Health Tech) ที่ใช้ในการสื่อสารทั้งภายในองค์กรและสู่สาธารณะ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่เริ่มสนใจและอยากทำความรู้จักในเบื้องต้น ที่จะช่วยให้เข้าใจวงการดังกล่าวมากยิ่งขึ้นนั่นเอง 


สำหรับ EP.1 จึงขอเริ่มต้นด้วยคำย่อในหมวดของ ‘ระบบ HIS’ ที่มีคำย่อซ่อนอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น EMR, EHR, RBAC และอื่น ๆ แต่คำเหล่านี้จะมีความหมายว่าอะไร หรือมีหน้าที่อะไรในระบบ HIS ไปดูกันเลย


10 คำย่อพร้อมความหมาย : ในหมวดระบบ HIS


  1. HIS (อ่านว่า เอช-ไอ-เอส) ย่อมาจากคำว่า Hospital Information System


HIS (อ่านว่า เอช-ไอ-เอส) ย่อมาจากคำว่า Hospital Information System คือระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาลที่ใช้ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล หรือคลินิก (OPD Clinics) ที่ครอบคลุมการจัดการข้อมูลในทุกด้านหรือทุกแผนกของสถานพยาบาล ตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ป่วย การรักษา การตรวจวินิจฉัย การจ่ายยา การจัดการคลังยา การจัดการทรัพยากรโรงพยาบาล ฯลฯ

คือระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาลที่ใช้ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล หรือคลินิก (OPD Clinics) ที่ครอบคลุมการจัดการข้อมูลในทุกด้านหรือทุกแผนกของสถานพยาบาล ตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ป่วย การรักษา การตรวจวินิจฉัย การจ่ายยา การจัดการคลังยา การจัดการทรัพยากรโรงพยาบาล ฯลฯ


โดยสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสารสนเทศที่ดี ความพร้อมของบุคลากร และทรัพยากรภายในโรงพยาบาลที่ตอบโจทย์การนำระบบสารสนเทศมาปรับใช้ ฯลฯ ต่างเป็นปัจจัยสำคัญในการวัดมาตรฐานของระบบสารสนเทศภายในสถานพยาบาลให้สามารถเทียบเท่ามาตรฐานสากลได้ ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานการรับรองระบบสารสนเทศ HIMSS Analytics EMRAM และอื่น ๆ เป็นต้น


  1. HIE (อ่านว่า เอช-ไอ-อี) ย่อมาจากคำว่า Hospital Information Exchange


HIE (อ่านว่า เอช-ไอ-อี) ย่อมาจากคำว่า Hospital Information Exchange คือระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลที่สามารถเชื่อมต่อระบบ HIS ของแต่ละสถานพยาบาลภายใต้การใช้มาตรฐานสากลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเดียวกันอย่าง HL7 (Health Level Seven) โดยประโยชน์สูงสุดของการใช้ระบบ HIE คือความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น การลดภาระของผู้ป่วยในการขอสำเนาประวัติการรักษา การติดตามประวัติการรักษาเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทันท่วงที ฯลฯ

คือระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลที่สามารถเชื่อมต่อระบบ HIS ของแต่ละสถานพยาบาลภายใต้การใช้มาตรฐานสากลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเดียวกันอย่าง HL7 (Health Level Seven)


โดยประโยชน์สูงสุดของการใช้ระบบ HIE คือความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น การลดภาระของผู้ป่วยในการขอสำเนาประวัติการรักษา การติดตามประวัติการรักษาเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทันท่วงที ฯลฯ


ความท้าทายของระบบ HIE นั้นคงหนีไม่พ้นความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยถือเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่น PDPA ทำให้ระบบ HIE มีข้อกำหนดและมาตรฐานด้านความปลอดภัย เช่น การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) และการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง (Role-Based Access Control) และระบบการสำรองข้อมูลที่เลือกใช้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าข้อมูลของผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงและพร้อมใช้งานได้ทันที


แต่ละสถานพยาบาลในประเทศไทยต่างมีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป แต่ถือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และมีตัวอย่างให้เห็น ยกตัวอย่าง

เครือพริ้นซ์ซิเพิล เฮลท์แคร์ ที่มีโรงพยาบาลในเครือมากกว่า 13 แห่ง ต่างใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบเดียวกัน ในการเพิ่มโอกาสของผู้ป่วยในการเข้าถึงระบบสุขภาพได้เร็วยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องขอสำเนาประวัติการรักษานั่นเอง

  1. RBAC (อ่านว่า อาร์-บี-เอ-ซี) ย่อมาจากคำว่า Role-Based Access Control


RBAC (อ่านว่า อาร์-บี-เอ-ซี) ย่อมาจากคำว่า Role-Based Access Control คือการควบคุมการเข้าถึงหรือการจัดการสิทธิ์การเข้าใช้งานของบุคลากรในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เภสัชกร ฯลฯ เพื่่อควบคุมแต่ละตำแหน่งงานในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลการรักษา หรือทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบที่เกี่ยวข้องตามบทบาท (Role) ที่ได้รับมอบหมาย

คือการควบคุมการเข้าถึงหรือการจัดการสิทธิ์การเข้าใช้งานของบุคลากรในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เภสัชกร ฯลฯ เพื่่อควบคุมแต่ละตำแหน่งงานในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลการรักษา หรือทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบที่เกี่ยวข้องตามบทบาท (Role) ที่ได้รับมอบหมาย


การรักษาความปลอดภัยของระบบและข้อมูลผ่านการใช้งาน RBAC นั้นถูกนำไปใช้งานในหลายอุตสาหกรรม เช่น ระบบ POS ร้านค้า รวมไปถึงระบบโรงพยาบาลหรือคลินิกต่าง ๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเข้าถึงข้อมูล การแก้ไขข้อมูล หรือการคัดลอกข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต


ซึ่งไม่เพียงแต่คำนึงถึงผู้รับบริการเท่านั้น แต่ข้อดีในฐานะผู้ใช้งานคือการช่วยลดความซับซ้อนและความผิดพลาดในการทำงาน โดยการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานแค่ในตำแหน่งของตนเอง


  1. CDSS (อ่านว่า ซี-ดี-เอส-เอส) ย่อมาจากคำว่า Clinical Decision Support System


CDSS (อ่านว่า ซี-ดี-เอส-เอส) ย่อมาจากคำว่า Clinical Decision Support System คือระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและให้คำแนะนำของแพทย์ ช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ถือเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจ ไม่ใช่ระบบที่เข้ามาทดแทนหรือ Disrupt วงการแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์ซะทีเดียว 

คือระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและให้คำแนะนำของแพทย์ ช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ถือเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจ ไม่ใช่ระบบที่เข้ามาทดแทนหรือ Disrupt วงการแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์ซะทีเดียว 


ระบบ CDSS สนับสนุนการทำงานของแพทย์โดยอาศัยข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยที่ถูกบันทึกในระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) ในการวิเคราะห์และช่วยวินิจฉัย เช่น


4.1. การสั่งยาของแพทย์ : ระบบ CDSS สามารถตรวจสอบปฏิกิริยาของยา และแจ้งเตือนในระบบเมื่อพบความผิดปกติในการสั่งยา เช่น การแพ้ยา การให้ยาซ้ำ ขนาดยาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ฯลฯ


4.2. การวินิจฉัยโรคและการรักษา : ระบบ CDSS สามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคจากอาการของผู้ป่วย และผลตรวจต่าง ๆ ได้ทันทีในขณะที่กำลังดูแลผู้ป่วย และสามารถแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์

หากเปรียบเทียบระหว่างระบบ CDSS กับการขอความคิดเห็นที่สองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (Second Opinion) นั้น คงไม่สามารถทดแทนกันได้แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจในแนวทางการรักษาของแพทย์และมาตรฐานของโรงพยาบาล

4.3. การแนะนำและการติดตามผลการรักษา : ระบบ CDSS สามารถเปรียบเทียบประวัติการรักษาของผู้ป่วย รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังการรักษา เพื่อให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยแบบรายบุคคล เช่น การฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด การควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือการเลือกยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น 


  1. CPOE (อ่านว่า ซี-พี-โอ-อี) ย่อมาจากคำว่า Computerized Physician Order Entry


CPOE (อ่านว่า ซี-พี-โอ-อี) ย่อมาจากคำว่า Computerized Physician Order Entry คือระบบสั่งการแพทย์ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และใช้งานผ่านระบบโรงพยาบาลที่รองระบระบบเวชระเบียนนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) นั่นเอง ซึ่งจุดเด่นของระบบ CPOE คือการเข้ามาเพื่อทดแทนการเขียนใบสั่งการรักษาหรือใบสั่งยาด้วยลายมือให้ได้มากที่สุด หากพูดถึงประเด็นทางสังคมที่ถูกพูดถึงและถกเถียงกันเกี่ยวกับ ‘ลายมือแพทย์’ หลาย ๆ คนคงจะเห็นภาพมากขึ้นว่าการเขียนนั้นอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์เกิดขึ้นง่ายไม่น้อย

คือระบบสั่งการแพทย์ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และใช้งานผ่านระบบโรงพยาบาลที่รองระบระบบเวชระเบียนนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) นั่นเอง ซึ่งจุดเด่นของระบบ CPOE คือการเข้ามาเพื่อทดแทนการเขียนใบสั่งการรักษาหรือใบสั่งยาด้วยลายมือให้ได้มากที่สุด


หากพูดถึงประเด็นทางสังคมที่ถูกพูดถึงและถกเถียงกันเกี่ยวกับ ‘ลายมือแพทย์’ หลาย ๆ คนคงจะเห็นภาพมากขึ้นว่าการเขียนนั้นอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์เกิดขึ้นง่ายไม่น้อย


แพทย์จะเข้าสู่ระบบ CPOE เพื่อทำการสั่งการรักษาผ่านระบบ ไม่ว่าจะเป็น การสั่งยา การส่งตรวจเพิ่มเติม โดยระบบจะแสดงรายการยาหรือรายการตรวจที่สามารถสั่งได้ให้กับแพทย์ โดยระบบนี้สามารถทำงานร่วมระบบ CDSS อย่างไร้รอยต่อในการตรวจสอบความถูกต้องและการแจ้งเตือนปฏิกิริยาของยาได้ด้วยเช่นกัน


จุดประสงค์ของการสั่งการแพทย์ในระบบนั้น ก็เพื่อให้ข้อมูลถูกบันทึกไว้ในระบบดิจิทัลและเชื่อมโยงกับระบบของแผนกอื่น  ๆ ภายในโรงพยาบาลให้สามารถติดตามสถานะได้และดำเนินงานอย่างมีระบบ เพื่อส่งคำสั่งไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องที่จะเพิ่มความรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ห้องจ่ายยา หรือห้องตรวจเพิ่มเติมนั่นเอง


  1. MA (อ่านว่า เอ็ม-เอ) ย่อมาจากคำว่า Maintenance Service Agreement


MA (อ่านว่า เอ็ม-เอ) ย่อมาจากคำว่า Maintenance Service Agreement คือสัญญาการบริการบำรุงรักษาระหว่างผู้ให้บริการและสถานพยาบาล ยกตัวอย่างผู้ให้บริการ เช่น บริษัทผู้ให้บริการในการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ ที่จะต้องมีสัญญาที่กำหนดขอบเขตในการให้บริการและเงื่อนไขในการดูแลรักษาระบบซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งให้กับสถานพยาบาลแต่ละที่ เช่น การฝึกอบรม การสนับสนุนทางเทคนิค การอัปเดตซอฟต์แวร์ และการแก้ไขปัญหา เป็นต้น

คือสัญญาการบริการบำรุงรักษาระหว่างผู้ให้บริการและสถานพยาบาล ยกตัวอย่างผู้ให้บริการ เช่น บริษัทผู้ให้บริการในการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ ที่จะต้องมีสัญญาที่กำหนดขอบเขตในการให้บริการและเงื่อนไขในการดูแลรักษาระบบซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งให้กับสถานพยาบาลแต่ละที่ เช่น การฝึกอบรม การสนับสนุนทางเทคนิค การอัปเดตซอฟต์แวร์ และการแก้ไขปัญหา เป็นต้น


ในปัจจุบัน MA หรือ Maintenance Service Agreement กลายเป็นจุดแข่งขันที่สำคัญสำหรับบริษัทจำหน่ายระบบซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ ทำให้ MA ไม่เพียงแต่เป็นสัญญาที่ระบุขอบเขตของการทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดแข็งในการสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น บุคลากรฝึกอบรมที่มีความเชี่ยวชาญ ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ที่ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง การแก้ไขและอัปเดตซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว


  1. EMR (อ่านว่า อี-เอ็ม-อาร์) ย่อมาจากคำว่า Electronic Medical Record


EMR (อ่านว่า อี-เอ็ม-อาร์) ย่อมาจากคำว่า Electronic Medical Record คือระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบดิจิทัลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ฯลฯ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อทดแทนการใช้กระดาษในการจดบันทึก และการจัดเก็บเอกสารแบบเดิม ๆ

คือระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบดิจิทัลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ฯลฯ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อทดแทนการใช้กระดาษในการจดบันทึก และการจัดเก็บเอกสารแบบเดิม ๆ


ระบบ EMR มักเชื่อมต่อเข้ากับระบบ HIS เพื่อทำงานร่วมกัน โดยระบบ EMR จะถูกเชื่อมต่อข้อมูลในแต่ละแผนก เช่น แผนกลงทะเบียนผู้ป่วย แผนกห้องตรวจหรือห้องปฏิบัติการ แผนกจ่ายยา แผนกชำระเงิน ฯลฯ เพื่อให้สามารถติดตามและอัปเดตข้อมูลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง และประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลผู้ป่วย เพื่อประโยชน์ของการรักษาและความพึงพอใจของผู้ป่วยด้วยนั่นเอง


การนำระบบ EMR มาปรับใช้นั้นยังช่วยลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลหรือ Human Error ให้ลดลง พร้อมด้วยระบบการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงตามบทบาท (RBAC) หรือระบบ CDSS ป้องกันการจ่ายยาซ้ำหรือการแพ้ยา เป็นต้น


  1. EHR (อ่านว่า อี-เอช-อาร์) ย่อมาจากคำว่า Electronic Health Record


EHR (อ่านว่า อี-เอช-อาร์) ย่อมาจากคำว่า Electronic Health Record คือระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมข้อมูลสุขภาพจากประวัติการรักษาของผู้ป่วยทั้งหมด และสามารถส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาพต่าง ๆ ให้กับผู้ให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่ต่อเนื่องและครอบคลุมมากขึ้นได้ แตกต่างจากระบบ EMR ที่จะครอบคลุมเพียงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลเดียวเท่านั้น

คือระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมข้อมูลสุขภาพจากประวัติการรักษาของผู้ป่วยทั้งหมด และสามารถส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาพต่าง ๆ ให้กับผู้ให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่ต่อเนื่องและครอบคลุมมากขึ้นได้ แตกต่างจากระบบ EMR ที่จะครอบคลุมเพียงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลเดียวเท่านั้น


ระบบ EHR มีการบันทึกข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกันกับระบบ EMR ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการรักษา ผลการตรวจ ประวัติการแพ้ยา ประวัติการฉีดวัคซีน หรือข้อมูลสุขภาพอื่น ๆ โดยมีจุดเด่นในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยให้กับสถานพยาบาลอื่น ๆ ได้ เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนในการตรวจ และเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ภายใต้ความปลอดภัยในการเก็บและส่งต่อข้อมูลด้วยเช่นกัน


  1. PACS (อ่านว่า แพคส์) ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System


PACS (อ่านว่า แพคส์) ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือระบบการเก็บภาพและการสื่อสารภาพถ่ายทางการแพทย์ ที่ออกแบบระบบมาเพื่อทำการจัดเก็บภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล สามารถทำงานร่วมกับระบบ EMR ในการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยให้อยู่ภายในระบบเดียวกัน เช่น ภาพเอกซเรย์ (X-Ray), MRI หรือ CT Scan เพื่อช่วยลดต้นทุนและพื้้นที่การจัดเก็บข้อมูล และเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา

คือระบบการเก็บภาพและการสื่อสารภาพถ่ายทางการแพทย์ ที่ออกแบบระบบมาเพื่อทำการจัดเก็บภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล สามารถทำงานร่วมกับระบบ EMR ในการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยให้อยู่ภายในระบบเดียวกัน เช่น ภาพเอกซเรย์ (X-Ray), MRI หรือ CT Scan เพื่อช่วยลดต้นทุนและพื้้นที่การจัดเก็บข้อมูล และเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา


นอกจากนี้ ระบบ PACS สามารถลดความเสี่ยงของการสูญหายของข้อมูลและมีความปลอดภัยสูงกว่าการจัดเก็บข้อมูลด้วยฟิล์ม ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกรังสีวิทยาและต้นทุนได้เป็นอย่างดี 


  1. API (อ่านว่า เอ-พี-ไอ) ย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface


API (อ่านว่า เอ-พี-ไอ) ย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface คืออินเตอร์เฟซโปรแกรมสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ที่เปรียบเสมือน ‘ประตู’ ที่เชื่อมต่อระหว่างระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยและการให้บริการทางการแพทย์ให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นนั่นเอง

คืออินเตอร์เฟซโปรแกรมสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ที่เปรียบเสมือน ‘ประตู’ ที่เชื่อมต่อระหว่างระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยและการให้บริการทางการแพทย์ให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นนั่นเอง


ยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อระบบ HIS กับระบบ EMR เพื่อสามารถเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ป่วยในแต่ละแผนกได้อย่างต่อเนื่อง หรือการเชื่อมต่อระบบ EMR กับเครื่องวัดสัญญาณชีพ (Vital Sign Monitor) ที่สามารถทำการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ทดแทนการลงบันทึกด้วยลายมือหรือเสียเวลาลงบันทึกในระบบที่ซ้ำซ้อน เป็นต้น


เป็นอย่างไรบ้าง ? กับ 10 คำย่อที่มัดรวมมาไว้ให้ในหมวดระบบ HIS

หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล หวังว่าจะช่วยให้หลาย ๆ คนเข้าใจการทำงานของระบบ HIS และฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในระบบสารสนเทศโรงพยาบาลได้ไม่มากก็น้อย ใน EP ถัดไป เมดคิวรีในซีรีส์ HealthTech 101 จะมาพร้อมกับหมวดอะไร อย่าลืมติดตามกันด้วยนะ


ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบ MEDHIS และ MEDHIS Lite สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่


โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น


bottom of page