top of page

8 คำที่คุณต้องรู้ ถ้าอยากเข้าใจระบบ HIS ให้มากขึ้น [EP.2]


8 คำย่อที่คุณต้องรู้ ถ้าอยากเข้าใจระบบ HIS ให้มากขึ้น [EP.2]

หัวใจสำคัญของระบบ HIS นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับธุรกิจสถานพยาบาลและลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว เรื่องของการรับรอง มาตรฐานและความปลอดภัยของระบบก็เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของการนำไปใช้งานในสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้กับผู้ให้บริการสามารถมอบบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการได้


EP.1 ของซีรีส์ HealthTech 101 ได้พูดถึงคำย่อเบื้องต้นที่ใช้บ่อยในระบบ HIS ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น HIS, EMR, RBAC ฯลฯ สามารถอ่านบทความต่อได้ที่ มัดรวม 10 คำย่อในระบบ HIS ไว้ที่เดี่ยว [EP.1] ใน EP.2 เรายังคงอยู่กับคำย่อ (Acronyms) ที่เจาะลึกเกี่ยวกับมาตรฐาน การรับรองคุณภาพต่าง ๆ ภายในระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ที่รู้ไว้ใช่ว่า…เมื่อเจอคำเหล่านี้ในภายหลังจะช่วยให้คุณเข้าใจระบบ HIS แบบไม่มีโป๊ะแน่นอน 


8 คำย่อในระบบ HIS พร้อมความหมาย


HL7 ย่อมาจาก Health Level Seven คือชุดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างระบบสารสนเทศต่าง ๆ ในสถานพยาบาล และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลที่ใช้มาตรฐานเดียวกัน

  1. HL7 (อ่านว่า เอช-แอล-เซเว่น) ย่อมาจากคำว่า Health Level 7 / Health Level Seven


HL7 คือชุดมาตรฐานสากลที่ถูกพัฒนาโดย HL7 International ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างระบบสารสนเทศต่าง ๆ ในสถานพยาบาล


เปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย HL7 คือ ‘ภาษา’ หนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสาร เพียงแต่ไม่ได้ใช้สื่อสารระหว่างมนุษย์ หากเป็นระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อให้รูปแบบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน 


หากมองการใช้งานภายในสถานพยาบาลเพียงแห่งเดียวอาจไม่เห็นบทบาทที่สำคัญของการใช้ HL7 เท่าไหร่ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์สูงสุดของการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าการมีมาตรฐานอย่าง HL7 ช่วยให้ข้อมูลผู้ป่วยถูกส่งต่อได้ง่ายดายกว่ารูปแบบเดิม และสามารถสร้างความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การลดภาระในการขอประวัติการรักษา การลดความซ้ำซ้อนในการการลงทะเบียนผู้ป่วยในสถานพยาบาลแห่งใหม่ เป็นต้น


สถานพยาบาลที่มีการนำชุดมาตรฐาน HL7 มาปรับใช้ จะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย อาทิ ข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจวินิจฉัย ฯลฯ ระหว่างสถานพยาบาลที่ใช้มาตรฐานเดียวกันผ่านระบบสารสนเทศได้ 


เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของเทคโนโลยีด้านการแพทย์ (Health Tech) และด้วยจุดเด่นของ HL7 ที่รองรับการพัฒนาและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอยู่เสมอ เราจึงจะเห็น HL7 ในหลาย ๆ เวอร์ชันผ่านตาอยู่บ้าง อาทิ HL7 v2, HL7 v3, HL7 FHIR ฯลฯ


ความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ป่วยระหว่างการเข้ารับบริการ

HL7 FHIR คืออะไร ?


HL7 FHIR หรือ Fast Healthcare Interoperability Resources คือมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดมาจาก HL7 ที่ถูกนำมาใช้และได้รับความนิยมมากขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ด้วยจุดเด่นที่ตอบโจทย์ระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน และมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพของการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นจากเดิม 


Health Link คือระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลที่ใช้มาตรฐานข้อมูลระดับสากลอย่าง HL7 FHIR เกิดจากความร่วมมือของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงสาธารณสุขไทย เพื่อผลักดันการใช้งานระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล หรือรู้จักกันในชื่อระบบ HIE (Health Information Exchange) ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมระบบ Health Link ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า 400 แห่ง (ขอบคุณข้อมูลจาก https://healthlink.go.th/)

DICOM ย่อมาจาก Digital Imaging and Communications in Medicine คือมาตรฐานการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพทางการแพทย์ ใช้งานร่วมกับระบบจัดเก็บภาพ PACS ให้ภายในสถานพยาบาลส่งต่อระหว่างแผนกเพื่อประโยชน์ของการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพทางการแพทย์ระหว่างสถานพยาบาลได้อย่างไร้รอยต่อ

  1. DICOM (อ่านว่า ได-คอม) ย่อมาจากคำว่า Digital Imaging and Communications in Medicine


DICOM คือมาตรฐานสากลที่ใช้ในการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลประเภทผลภาพทางการแพทย์ (Medical Images) ที่ได้จากเครื่องมือทางการแพทย์ในรูปแบบดิจิทัลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพเอกซเรย์ (X-ray) ภาพซีทีสแกน (CT Scan) เอ็มอาร์ไอ (MRI) หรือภาพอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ฯลฯ 


อย่างที่รู้กันดีว่าส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือแพทย์ในสถานพยาบาลต่าง ๆ มาจากผู้ผลิตและประเทศต้นทางที่แตกต่างกันออกไป เพื่อลดข้อจำกัดของการใช้งานต่าง ๆ จากเครื่องมือแพทย์เหล่านี้ มาตรฐาน DICOM จึงเหมือนภาษาสากลเพื่อให้ผลภาพทางการแพทย์จากเครื่องมือแพทย์ที่ต่างกันนั้นสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้ 


ประโยชน์ของการใช้มาตรฐาน DICOM ที่เข้ามาช่วยลดข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็น


  • ความแตกต่างของเครื่องมือแพทย์แต่ละชนิด

  • ความแตกต่างของระบบหรือซอฟต์แวร์ของสถานพยาบาล เช่น ระบบ HIS

  • พื้นที่และรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์

  • ระยะเวลาของการวินิจฉัยและการรักษา

  • การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล


การนำมาตรฐาน DICOM มาปรับใช้ภายในระบบสารสนเทศของสถานพยาบาล จะมีการกำหนดรูปแบบการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ในการส่งต่อผลภาพทางการแพทย์ระหว่างแผนกภายในสถานพยาบาลเพื่อประโยชน์ของการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพทางการแพทย์ระหว่างสถานพยาบาลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น


DICOM กับ PACS ทำงานร่วมกันอย่างไร ?


ในบทความที่แล้ว เราได้พูดถึงความหมายของคำว่า PACS (Picture Archiving and Communication System) หรือระบบที่ใช้ในการเก็บภาพและการสื่อสารภาพถ่ายทางการแพทย์ในรูปแบบดิจิทัล

PACS เปรียบได้เหมือนตู้เก็บเอกสารที่ใช้จัดเก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ ให้บุคลากรทางแพทย์สามารถเปิดดูหรือนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้ง่ายขึ้นภายใต้ความปลอดภัยของฐานข้อมูลผู้ป่วย โดยมี DICOM เปรียบเสมือนแฟ้มเอกสารที่กำหนดรูปแบบการจัดเก็บ และการแสดงผลภาพทางการแพทย์จากเครื่องมือทางการแพทย์ต่าง ๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้


ในระบบสารสนเทศของสถานพยาบาล PACS และ DICOM จึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน และจำเป็นต้องอาศัยจุดเด่นของแต่ละตัวเพื่อให้ข้อมูลภาพทางการแพทย์จากเครื่องมือต่าง ๆ สามารถนำไปใช้งานร่วมกันภายในสถานพยาบาลและระหว่างสถานพยาบาลได้อย่างราบรื่นนั่นเอง


ISMS ย่อมาจาก Information Security Management System คือระบบบริหารจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล ที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ของข้อมูลสุขภาพภายในสถานพยาบาล และทำให้สถานพยาบาลมั่นใจว่าข้อมูลจะถูกรักษาภายใต้ความปลอดภัยและการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ

  1. ISMS (อ่านว่า ไอ-เอส-เอ็ม-เอส) ย่อมาจากคำว่า Information Security Management System


ISMS คือระบบบริหารจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพ ที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ของข้อมูลภายในสถานพยาบาล และทำให้สถานพยาบาลมั่นใจว่าข้อมูลจะถูกรักษาภายใต้ความปลอดภัยและการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ


ความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วยในวงการสุขภาพและวิชาชีพแพทย์นั้นมีความละเอียดอ่อนและเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วย รวมทั้งความมั่นคงและชื่อเสียงขององค์กร ทำให้บทบาทของระบบ ISMS ภายในสถานพยาบาลจึงมีความสำคัญเพื่อช่วยให้ข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ได้รับการปกป้องจากการเข้าถึงและการเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งการสูญหายของข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ ฯลฯ


นอกจากนี้ การนำระบบ ISMS มาปรับใช้ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตามนั้น จำเป็นต้องดำเนินตามระเบียบให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 27001 เพื่อให้ระบบ ISMS สามารถจัดตั้ง บำรุงรักษา และปรับปรุงบริหารจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง


มาตรฐาน ISO 27001

ISMS และมาตรฐาน ISO 27001 เชื่อมโยงกันอย่างไร ?


ให้เข้าใจง่าย ๆ ระบบ ISMS คือระบบบริหารจัดการหนึ่งที่มี ISO 2700 กำหนดมาตรฐานของระบบ ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพากันและกันเพื่อให้ระบบการจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพเป็นไปได้อย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ


สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองระบบ ISMS ตามมาตรฐาน ISO 27001 จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ว่าภายในสถานพยาบาลมีการปกป้องข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างรัดกุม และข้อมูลมีความพร้อมสำหรับการนำไปใช้งานได้ในทันที รวมทั้งสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพหรือกฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง PDPA ที่ถูกให้ความสำคัญในประเทศไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการรักษา ผลการตรวจวินิจฉัย ภายใต้การยินยอมในการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยตามสิทธิของแต่ละบุคคล


ICD ย่อมาจาก International Classification of Diseases คือบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศที่เป็นมาตรฐานสากลในการกำหนดรหัสเฉพาะให้กับแต่ละโรค มีจุดประสงค์เพื่อให้สถานพยาบาลทั่วโลกสามารถบันทึกข้อมูลสุขภาพเพื่อใช้สื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทันเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพภายใต้การใช้มาตรฐาน ICD ร่วมกัน

  1. ICD (อ่านว่า ไอ-ซี-ดี) ย่อมาจากคำว่า International Classification of Diseases


ICD หรือบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศที่เป็นมาตรฐานสากลในการกำหนดรหัสเฉพาะให้กับแต่ละโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สถานพยาบาลทั่วโลกสามารถบันทึกข้อมูลสุขภาพ เพื่อใช้สื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทันเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพภายใต้การใช้มาตรฐาน ICD ร่วมกัน


รหัส ICD ที่นิยมใช้ภายในสถานพยาบาลและอาจจะคุ้นตากันอยู่บ้างในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น รหัส ICD-9, ICD-10 หรือ ICD-11 ที่จะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ โดยรหัสดังกล่าวจะถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการบันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในระบบ ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือที่รู้จักกันในระบบ HIS


นอกจากนี้ภายในสถานพยาบาลยังใช้รหัส ICD เพื่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น บริษัทประกันสุขภาพ เพื่อให้การสื่อสารและการเรียกเก็บค่าบริการเป็นไปอย่างถูกต้องตามโรคหรืออาการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษานั่นเอง


จุดเด่นของรหัส ICD คือการบันทึกข้อมูลให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน สถานพยาบาลที่มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพโดยใช้มาตรฐาน ICD จะช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ สามารถนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ และวิจัยทางการแพทย์ร่วมกันได้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลที่จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยเมื่อต้องย้ายโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน


EMRAM ย่อมาจาก Electronic Medical Record Adoption Model เกิดจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร HIMSS Analytics เพื่อประเมินระดับความก้าวหน้าของระบบ EMR (Electronic Medical Record) ในการนำมาใช้ภายในสถานพยาบาล โดยมีการแบ่งตั้งแต่ระดับ 0 ไปจนถึงระดับ 7 ที่เป็นระดับสูงสุดหรือรู้จักกันในชื่อมาตรฐาน EMRAM Stage 7

  1. EMRAM (อ่านว่า เอ็ม-แรม) ย่อมาจากคำว่า Electronic Medical Record Adoption Model


คือมาตรฐานการประเมินระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือนิยมเรียกกันว่ามาตรฐาน EMRAM ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เกิดจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร HIMSS Analytics เพื่อประเมินระดับความก้าวหน้าของระบบ EMR (Electronic Medical Record) ในการนำมาใช้ภายในสถานพยาบาล โดยมีการแบ่งตั้งแต่ระดับ 0 ไปจนถึงระดับ 7 ที่เป็นระดับสูงสุดหรือรู้จักกันในชื่อมาตรฐาน EMRAM Stage 7 นั่นเอง


EMRAM ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาความพร้อมของระบบ EMR ให้กับสถานพยาบาลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันของธุรกิจสถานพยาบาลมุ่งเน้นการดำเนินงานสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ให้ทันสมัยในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการทางการแพทย์หรือการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ก็ตาม


ระดับ (Stage) ของมาตรฐาน EMRAM ทั้งหมด 8 ระดับถูกออกแบบมาเพื่อประเมินระดับความพร้อมของระบบ EMR ภายในสถานพยาบาล โดยแต่ละสถานพยาบาลมีเป้าหมายสูงสุดในการได้รับมาตรฐานในระดับ 7 ที่แสดงถึงความพร้อมของการใช้ EMR ในระดับสูงสุดและได้ยอมรับในระดับสากล โดยบ่งบอกถึงความพร้อม เช่น การเป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษ (Paperless Hospital) ในทุก ๆ ขั้นตอนของการให้บริการ เป็นต้น


มาตรฐาน EMRAM จึงถือเป็นเป้าหมายของสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเชื่อมั่นให้กับทั้งผู้ใช้บริการ บุคลากรทางการแพทย์ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับพันธมิตรและดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถได้เป็นอย่างดี


โดยปัจจุบันสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ถูกรับรองมาตรฐาน HIMSS Analytics EMRAM Stage 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ เป็นต้น


HIPAA ย่อมาจาก Health Insurance Portability and Accountability Act คือกฎหมายว่าด้วยการเคลื่อนย้ายและความรับผิดชอบในการประกันสุขภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีเป้าหมายในการสร้างมาตรฐานระดับสากลเพื่อคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจะได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม

  1. HIPAA (อ่านว่า เอช-ไอ-พี-เอ-เอ) ย่อมาจากคำว่า Health Insurance Portability and Accountability Act


HIPAA หรือกฎหมายว่าด้วยการเคลื่อนย้ายและความรับผิดชอบในการประกันสุขภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีเป้าหมายในการสร้างมาตรฐานระดับสากลเพื่อคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจะได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การเปิดเผยข้อมูลโดยการยินยอมจากผู้ป่วย หรือการควบคุมและอนุญาตใช้ข้อมูลด้านสุขภาพเท่าที่จำเป็นและมีประโยชน์กับผู้ป่วยเท่านั้น 


สำหรับข้อมูลที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้ HIPAA นั้น มีเงื่อนไขคือการปรากฎการระบุถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย โดยมีการกำหนดความหมายของของข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลที่จะได้รับการคุ้มครอง เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล รูปถ่าย ฯลฯ ที่สามารถระบุตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ จะได้รับการคุ้มครองทั้งสิ้น


HIPAA เหมือนหรือต่างอย่างไรกับ PDPA ?


ทั้ง HIPAA และ PDPA เป็นกฎหมายที่ต่างมีเป้าหมายในการปกป้องและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้การยินยอมจากบุคคลก่อนการเก็บข้อมูล โดย HIPAA เน้นการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพ ในขณะที่ PDPA นั้นครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลในทุกประเภทไม่เพียงแต่วงการสุขภาพเท่านั้น


โดยสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยระหว่างประเทศกับทางสหรัฐอเมริกานั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามทั้ง PDPA ของประเทศไทยและ HIPAA เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวถูกออกแบบมาให้กับชาวสหรัฐฯ นั่นเอง


เพื่อสร้างทั้งความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดี สถานพยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงความหมาย ขอบเขต และการใช้งานของกฎหมายเหล่านี้ ให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องและคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วยเป็นสูงสุด 


HA ย่อมาจาก Hospital Accreditation คือการประเมินและรับรองคุณภาพของสถานพยาบาลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในด้านต่าง ๆ จากองค์กรภายนอกที่เป็นกลาง เพื่อกระตุ้นให้สถานพยาบาลพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

  1. HA (อ่านว่า เอช-เอ) ย่อมาจากคำว่า Hospital Accreditation


Hospital Accreditation หรือการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือกระบวนการประเมินและรับรองคุณภาพของสถานพยาบาลโดยองค์กรภายนอกที่เป็นกลาง โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงบริบทและความต้องการของแต่ละประเทศ ทำให้ HA เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพการบริการสุขภาพของประเทศ เพื่อกระตุ้นให้สถานพยาบาลพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง


หนึ่งในเกณฑ์สำคัญของ HA คือการจัดการระบบสารสนเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น การจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วย ระบบสื่อสารภายใน ความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาคุณภาพเหล่านี้จะสร้างประโยชน์ให้กับทั้งผู้ป่วย บุคลากร และสถานพยาบาลภายใต้ความร่วมมือของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินเพื่อให้ได้ใบรับรอง HA ในที่สุด


สถานพยาบาลที่ได้รับใบรับรอง HA จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าจะได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง นอกจากนี้ การได้รับรอง HA ยังส่งเสริมให้บุคลากรในสถานพยาบาลมีความรู้ความสามารถและทักษะที่ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารในการแข่งขันในตลาดบริการสุขภาพอีกด้วย


JCI ย่อมาจาก Joint Commission International
คือมาตรฐานการรับรองด้านการดูแลผู้ป่วยและคุณภาพของสถานพยาบาลในระดับสากล เกิดจากองค์กรอิสระไม่แสวงหาผลกำไร The Joint Commission จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและให้การรับรองมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ด้วยเกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวดและครอบคลุมทุกมิติของการดูแลผู้ป่วย รวมถึงมีกระบวนการประเมินที่โปร่งใส ทำให้สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรอง JCI สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ในระดับสากลได้

  1. JCI (อ่านว่า เจ-ซี-ไอ) ย่อมาจากคำว่า Joint Commission International


JCI คือมาตรฐานการรับรองด้านการดูแลผู้ป่วยและคุณภาพของสถานพยาบาลในระดับสากล เกิดจากองค์กรอิสระไม่แสวงหาผลกำไร The Joint Commission จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและให้การรับรองมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ด้วยเกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวดและครอบคลุมทุกมิติของการดูแลผู้ป่วย รวมถึงมีกระบวนการประเมินที่โปร่งใส ทำให้สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรอง JCI สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ในระดับสากลได้


JCI ถูกกำหนดมาเพื่อให้สถานพยาบาลที่ได้การรับรองต้องมีการปรับปรุงระบบและกระบวนการทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยมาตรฐาน JCI ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลผู้ป่วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยในการเข้ารับบริการภายในสถานพยาบาล โดยมีเกณฑ์การประเมินทั้งหมด 2 หมวดหลัก ๆ คือ มาตรฐานที่เน้นผู้ป้วยเป็นศูนย์กลาง และมาตรฐานการจัดการสถานพยาบาล


JCI และ HA เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?


JCI และ HA เป็นมาตรฐานที่ใช้ประเมินคุณภาพของโรงพยาบาลแต่มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดย JCI เป็นมาตรฐานสากลที่มีเกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวดและครอบคลุมทุกมิติของการดูแลผู้ป่วย ในขณะที่ HA เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นโดยแต่ละประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศนั้นๆ


การขอรับรองทั้ง JCI และ HA สามารถช่วยยกระดับคุณภาพของสถานพยาบาลและสร้างความน่าเชื่อถือในระดับสากลได้ แต่อย่างไรก็ตาม สถานพยาบาลจำเป็นต้องพิจารณาถึงทรัพยากรและความพร้อมขององค์กรอย่างรอบคอบ โดยอาจเริ่มจากการขอรับรอง HA ก่อน เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับบริบทของประเทศ และนำไปสู่การขอรับรอง JCI ในภายหลัง การวางแผนที่รอบคอบและการมีส่วนร่วมจากบุคลากรทุกระดับ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนี้นั่นเอง


เข้าใจระบบ HIS ให้มากขึ้นอีกขั้นหรือยัง ?


เป็นอย่างไรบ้างกับ 8 คำย่อที่คุณควรรู้หากอยากเข้าใจระบบ HIS ภายในสถานพยาบาล ซึ่งแน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือทำความเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งทุกคำ แต่เมดคิวรีเพียงมาบอกเล่าสู่กันฟัง และหวังว่ามันจะมีประโยชน์ต่อคนที่กำลังสนใจหรือกำลังค้นหาความหมายเบื้องต้นของคำเหล่านี้อยู่ไม่มากก็น้อย 


สำหรับ EP. ต่อไป เมดคิวรีจะพูดถึงระบบ HIS หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ ภายในสถานพยาบาลในแง่มุมไหน อย่าลืมติดตามและรับชมข่าวสารจากเราต่อไปในอนาคต


ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบ MEDHIS และ MEDHIS Lite สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่


  • โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

  • อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น




bottom of page