top of page

ระบบโรงพยาบาลคืออะไร? กับความสำคัญในการดำเนินงานในโรงพยาบาล

ระบบโรงพยาบาลคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับการดำเนินงานในโรงพยาบาล

“ระบบโรงพยาบาล” เปรียบเสมือนกลไกในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจโรงพยาบาลดำเนินไปได้อย่างครบวงจรตั้งแต่หน้าบ้านไปจนถึงหลังบ้าน ช่วยควบคุมการดำเนินงานในแต่ละส่วนงานหรือแผนกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลให้เป็นระบบ แต่จะมีความจำเป็นหรือมีความสำคัญอย่างไรต่อการดำเนินงานในโรงพยาบาลอย่างไรนั้น วันนี้ MEDcury จะมาอธิบายให้เข้าใจกันอีกครั้ง


ระบบโรงพยาบาล (Hospital System) คืออะไร ?


ระบบโรงพยาบาล (Hospital System) คือระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการแผนกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลให้ไปเป็นได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการทางการแพทย์ การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ การบริหารจัดการโรงพยาบาล ฯลฯ


อธิบายให้เห็นภาพคือตั้งแต่คนไข้เดินเข้ามาใช้บริการ จนกระทั่งรับยาและออกจากโรงพยาบาล ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องมีระบบรองรับเพื่อให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการคนไข้ได้นั่นเอง


หากพูดถึงการเลือกใช้ระบบต่าง ๆ ในโรงพยาบาลนั้นมักขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ประกอบกัน โดยสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย อาทิ ขนาด จำนวนเตียง กระบวนการจัดการ (Operation Flow) และธุรกิจโรงพยาบาลที่มีอยู่แตกต่างกัน


โดยธุรกิจโรงพยาบาลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ สถานพยาบาลที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอกหรือ OPD (Out-Patient Department) เช่น คลินิก และสถานพยาบาลที่ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน IPD (In-Patient Department) เช่น โรงพยาบาล เป็นต้น


ความสำคัญของระบบโรงพยาบาล


อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าระบบโรงพยาบาลเปรียบเสมือนกลไกเพื่อช่วยควมคุมการดำเนินงานในแต่ละส่วนให้เป็นตามมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน (SOP) โดยระบบโรงพยาบาลถูกออกแบบมาเพื่อวางกระบวนการทำงานที่เหมาะสมกับขนาดและความต้องการเพื่อลดความซับซ้อนและความผิดพลาดระหว่างการดำเนินงาน


ซึ่งบางสถานพยาบาลอาจมีการใช้ระบบในการบริหารงานทั้งหมดหรือปรับใช้เพียงบางส่วนตามทรัพยากรและงบประมาณที่กำหนดไว้


ในปัจจุบัน ทุก ๆ โรงพยาบาลมีการปรับใช้ระบบ EMR (Electronic Medical Record) หรือเวชระบียนอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการบันทึกประวัติของผู้ป่วยและข้อมูลทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และสะดวกในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแผนกในโรงพยาบาลและลดภาระงานของพยาบาลนั่นเอง 


ซึ่งระบบ EMR ดังกล่าวมีมาตรฐานในการชี้วัดเพื่อสร้างความมั่นใจในการการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในโรงพยาบาล โดยมีมาตรฐานอย่าง EMRAM หรือ Electronic Medical Record Adoption Model ที่หลาย ๆ โรงพยาบาลในประเทศไทยได้รับการรับรอง


โดย EMRAM มีมาตรฐานตั้งแต่ระดับ Stage 0-7 ซึ่งโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ได้การรับรองในระดับ Stage 7 หรือสูงสุด ณ ปัจจุบัน อาทิ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ฯลฯ


ประเภทของระบบโรงพยาบาล


หากพูดถึงประเภทของระบบโรงพยาบาลนั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยสามารถแบ่งตามมุมมองของการใช้งาน ระดับของการใช้งาน ฯลฯ ซึ่งในบทความนี้จะขอแบ่งประเภทของโรงพยาบาลตามกระบวนการจัดการหรือ Operation Flow ในโรงพยาบาลทั่วไป


ระบบโรงพยาบาลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามกระบวนการจัดการในโรงพยาบาล (Hospital Operation Flow) เปรียบเสมือนระบบที่รับผิดชอบแต่ละส่วนของบ้าน ซึ่งระบบโรงพยาบาลนั้นจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบุคคลากรและแผนกที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล ได้แก่


  1. ระบบหน้าบ้าน (Front-end) : ตัวอย่างเช่น ระบบ HIS (Hospital Information System) หรือระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศหรือระบบจัดการข้อมูลคนไข้ตั้งแต่ การลงทะเบียน การกรอกประวัติผู้ป่วย การรักษา การจ่ายยา เป็นต้น โดยมีระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง ระบบ EMR (Electronic Medical Record), ระบบ HIE (Hospital Information Exchange) เป็นต้น


    1. ระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ (Hospital Information System) คือระบบบริหารจัดการสารสนเทศ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานในโรงพยาบาลที่เชื่อมต่อกับระบบ EMR ในการบันทึกข้อมูลและประวัติของผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีจุดเด่นคือลดการใช้กระดาษ (Paperless Hospital) และการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยกับแผนกต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว


      โดยแต่ละโรงพยาบาลมักมีฟีเจอร์หรือจำนวน Modules ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของการใช้งานระบบ HIS ตั้งแต่การลงทะเบียน การบันทึกประวัติผู้ป่วย การวินิจฉัยและรักษา การจ่ายยา รวมไปถึงการชำระเงินผู้ป่วย เป็นต้น


      อย่างไรก็ตาม ระบบ HIS ของโรงพยาบาลบางแห่งนั้นไม่ได้มีจำนวน Modules ที่ครบครันเสมอไป อาทิ คลินิกฟันเฉพาะทาง (Dentistry) หรือการบริหารจัดการเลือด (Blood Bank) ซึ่งต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมของระบบก่อนเลือกใช้งานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับการดำเนินงานในภาพรวมได้


      ปัจจุบันการติดตั้งระบบ HIS หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาลมีการพัฒนาให้มีความปลอดภัยและง่ายต่อการใช้งานในทุก ๆ อุปกรณ์มากขึ้น คือการติดตั้งแบบ Web-based และ Cloud-based โดยอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้


      • Web-based : ช่วยให้บุคลากรในโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลล่าสุดของผู้ป่วยได้จากอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงอุปกรณ์นั้น ๆ 

      • Cloud-based : ช่วยให้โรงพยาบาลไม่ต้องลงทุนในการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ (On-premise) และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และยังสามารถปรับขนาดของการจัดเก็บตามขนาดธุรกิจของโรงพยาบาล โดยมีมาตราการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เช่น การผ่านการยืนยันตัวบุคคล


      ในประเทศไทย ผู้ให้บริการระบบ HIS บางรายมีการเพิ่มเติมจำนวน Modules ในระบบเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น และป้องกันความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นจากบุคคล (Human Error)


      ยกตัวอย่าง ระบบ MEDHIS (ระบบบ HIS ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากระบบ Centrix) จากบริษัท เมดคิวรี จำกัด ที่มี Modules เพิ่มเติมเพื่อช่วยลดความผิดพลาดและสามารถให้บริการผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Clinical Decision Support Systems (CDSS) และ Clinical Pharmacy Order Entry (CPOE) เป็นต้น


  2. ระบบหลังบ้าน (Back-end) : ตัวอย่างเช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) หรือระบบบริการจัดการทรัพยากร และคลังยาต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล


    1. ระบบบริหารจัดการทรัพยากรในโรงพยาบาล (ERP) ระบบบริหารจัดการทรัพยากร หรือระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) คือระบบจัดการหลังบ้านของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับแผนกต่าง ๆ อาทิ ระบบบัญชี ระบบการจ่ายเงิน ระบบบริหารจัดการสินค้าคงคลัง


      โดยธุรกิจโรงพยาบาลมีความพิเศษจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ คือเรื่องของการยกเว้นภาษี VAT 7% ทำให้ระบบ ERP ทั่วไปในตลาดต้องมีการปรับในจุดนี้เพื่อคำนวนต้นทุนของโรงพยาบาลให้ถูกต้องนั่นเอง


      การเชื่อมต่อระบบ ERP กับระบบ HIS ภายในโรงพยาบาลโดยสมบูรณ์นั้น จะเกิดการสั่งจ่ายยาโดยแพทย์และเภสัชกรผ่านระบบ HIS ตามกระบวนการเพื่อดำเนินการในเรื่องการตัดสินค้าคงคลัง กระบวนการจัดซื้อยา และการลงบัญชีให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะกับการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลที่มีการเบิกจ่ายยาอยู่ตลอดเวลาเพื่อลดความผิดพลาดของการนับสินค้าคลัง 


      หากพูดถึงการเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อระหว่าง 2 ระบบนี้ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับหลาย ๆ โรงพยาบาล โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งด้านงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากร และความสามารถในการค้นหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ ฯลฯ เพื่อทดแทนวิธีการนับและตัดสินค้าคงคลังนอกเหนือการใช้ระบบที่อาจนำมาสู่การทุจริตและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย


      การปรับใช้ระบบ ERP กับธุรกิจโรงพยาบาลจึงถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจและสามารถต่อยอดจากขนาดของธุรกิจของโรงพยาบาลได้ตั้งแต่คลินิกผู้ป่วยนอก (OPD Clinic) ไปจนถึงสถานพยาบาลขนาดใหญ่


      ยกตัวอย่าง ระบบ Odoo ERP จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด ที่มีการพัฒนาระบบ ERP เพื่อเจาะกลุ่มตลาดสถานพยาบาล โดยเชื่อมระบบเข้ากับระบบ MEDHIS ของบริษัท เมดคิวรี จำกัด โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มความสะดวกให้กับโรงพยาบาลที่กำลังมองหาระบบ ERP ที่เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการทรัพยากรภายในโรงพยาบาล


  3. ระบบสนับสนุนอื่น ๆ (Support System) : ตัวอย่างเช่น Telehealth, Telemedicine ที่ช่วยให้การบริการทางการแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในโรงพยาบาล หรือระบบ CRM (Customer Relationship Management), Call Center เป็นต้น


    1. ระบบสนับสนุนภายในโรงพยาบาล (Support System) ระบบสนับสนุนอื่น ๆ ในโรงพยาบาล อาทิ ระบบ Telehealth หรือ Telemedicine, CRM หรือระบบ Call Center ถือเป็นระบบสนับสนุนที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับสถานพยาบาลโดยเฉพาะผู้ป่วย เพื่อตอบโจทย์การให้บริการที่มากกว่าแค่การรักษา และเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการแก่ผู้ป่วยอีกด้วย


      ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเอกชนที่มีการนำระบบ CRM เข้ามาปรับใช้เพื่อช่วยให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการข้อมูลการใช้บริการของผู้ป่วย เพื่อเสนอขายผลิตภัณฑ์หรือแพ็กเกจสุขภาพแบบ Personalized ที่ช่วยตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลได้อย่างตรงจุดนั่นเอง


      โดยระบบดังกล่าวขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งาน เนื่องจากตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้หลายโรงพยาบาลอาจมีการจ้างพนักงานแทนการใช้ระบบเพื่อให้มีความเหมาะสมกับต้นทุนนั่นเอง


ระบบโรงพยาบาลมีความสำคัญกับการดำเนินงานโรงพยาบาล


สรุปแล้ว ระบบโรงพยาบาลถือเป็นหัวใจในการดำเนินงานและเปรียบเสมือนหน้าบ้านและหลังบ้านของโรงพยาบาล ซึ่งผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้งานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น พยาบาล แพทย์ เภสัชกร ฯลฯ โดยพิจารณาและเปรียบเทียบระบบโรงพยาบาลจากผู้ให้บริการต่าง ๆ ในตลาด ไม่ว่าจะเป็น ความเข้ากันได้ของระบบ การออกแบบที่เหมาะสมกับสถานพยาบาลเป็นสำคัญ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคนไข้ให้มีข้อผิดพลาดและข้อกังวลน้อยที่สุด


ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลต่าง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่


  • โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

  • อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น



bottom of page