จากบทความก่อนหน้านี้ ได้พูดถึงการต่อยอดระบบ Centrix สู่เป้าหมายของการพัฒนาเป็นระบบ MEDHIS อ่านบทความต่อได้ที่ MEDcury เปลี่ยนโฉม Centrix สู่ MEDHIS เดินหน้าสร้างระบบนิเวศสุขภาพพร้อมขยายสู่ตลาดต่างประเทศ
และในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับระบบ MEDHIS หนึ่งในเฮลท์เทคโซลูชันจากบริษัท เมดคิวรี จำกัด พร้อมด้วยเนื้อหาต่าง ๆ ที่จะทำให้คุณเข้าใจการทำงานของระบบสารสนเทศโรงพยาบาลในชื่อ MEDHIS แบบเข้าใจง่าย
MEDcury คือบริษัทอะไร ?
บริษัท เมดคิวรี จำกัด หรือ MEDcury (เมดคิวรี) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 นำโดยผู้ก่อตั้ง นายจตุพล ชวพัฒนากุล คือบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการแพทย์ ที่มีเป้าหมายในการสร้างระบบนิเวศสุขภาพให้ยั่งยืนผ่านโซลูชันด้านสุขภาพ (HealthTech Solutions) เพื่อช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบต่าง ๆ การยกระดับการบริการด้านสุขภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ฯลฯ
ปัจจุบัน บริษัท เมดคิวรี จำกัด มี 4 โซลูชันพร้อมให้บริการสำหรับสถานพยาบาล ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสร้างโอกาสในการแข่งขันด้านธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ ได้แก่
ระบบ MEDHIS : ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาล (Hospital Information System หรือระบบ HIS) สำหรับสถาพยาบาลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือสถานพยาบาลที่มีการให้บริการทั้งแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และแบบผู้ป่วยใน (IPD) เช่น โรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน
ระบบ MEDHIS Lite : ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาลขนาดย่อ (Lite Version) ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการดำเนินการของสถานพยาบาลขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือสถานพยาบาลที่มีการให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก (OPD) เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกเสริมความงาม คลินิกทันตกรรม หรือคลินิกสุขภาพจิต ฯลฯ
ระบบ MEDConnext : ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล (Hospital Information Exchange หรือระบบ HIE) ที่มีมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ FHIR Standard และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ MEDHIS ได้อย่างคล่องตัว
แพลตฟอร์ม Virtual Health : บริการทางการแพทย์ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้โดยไม่ต้องอยู่แค่ในโรงพยาบาล
ระบบเหล่านี้จำเป็นแค่ไหนกับโรงพยาบาล ?
หากพูดถึงปัจจัยของประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย การเติบโตด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการให้บริการที่เน้นผู้ป่วยเป็นหลัก (Patient-Centric) มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์รายบุคคล การเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลเพื่อลดภาระของผู้ป่วย และการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพทั้งในและนอกสถานพยาบาลของผู้ป่วย ฯลฯ
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เปิดโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า และเป็นความท้าทายของผู้บริหารสถานพยาบาลในการพิจารณาและคัดเลือกระบบโรงพยาบาลที่เหมาะสม เพื่อรองรับการเติบโตและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์
ระบบ HIS ในสถานพยาบาลคืออะไร ?
หากพูดถึงความหมายของระบบ HIS หลาย ๆ ท่านก็คงได้ยินคำเหล่านี้มาไม่มากก็น้อย ทั้งระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล หรือระบบสารสนเทศสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ ที่ต่างประกอบสร้างความหมายเป็นระบบ HIS เหมือนกัน ที่เป็นหนึ่งใน ‘ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล’ ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในแต่ละส่วนงานของสถานพยาบาลให้ราบรื่นนั่นเอง
อ่านบทความต่อได้ที่ ระบบโรงพยาบาลคืออะไร ?
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานสถานพยาบาล ระบบ HIS จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลและคลินิกต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ระบบ HIS จึงเปรียบเสมือนระบบหน้าบ้าน (Front-end) ที่ดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติ (Automation) ในการบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย
โดยครอบคลุมการทำงานแต่ละส่วนงานตั้งแต่การลงทะเบียน การบันทึกประวัติผู้ป่วย การรักษา การจ่ายยา การชำระเงิน ฯลฯ และสามารถสนับสนุนการตัดสินใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษา การศึกษาวิจัย การจัดการคลังยา หรือการบริหารจัดการโรงพยาบาล ฯลฯ
ระบบ HIS เชื่อมต่อกับระบบ EMR (Electronic Medical Record) หรือระบบการบันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนการบันทึกด้วยลายมือและการบันทึกลงกระดาษแบบวิธีเดิม (Manual) โดยปัจจุบันถูกนำไปใช้ในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานภายในสถานพยาบาลด้วยเช่นกัน
อ่านบทความต่อได้ที่ ระบบ EMR กับ EHR ต่างกันอย่างไร ?
แต่เนื่องจากสถานพยาบาลแต่ละที่แตกต่างกันไปตามขนาดธุรกิจ จำนวนเตียง และมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน (SOP) ผู้บริหารสถานพยาบาลจึงควรพิจารณาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นสำคัญ ในการคัดเลือกคุณสมบัติของระบบและการเตรียมความพร้อมของบุคลากร เพื่อให้สามารถสนับสนุนแต่ละส่วนงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับธุรกิจสถานพยาบาล
ระบบ MEDHIS ตอบโจทย์ความต้องการของโรงพยาบาลทุกขนาด
ระบบ MEDHIS ถูกพัฒนาจากระบบ Centrix โดยบริษัท MEDcury ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้งาน และการพัฒนาจำนวนโมดูล (Modules) อย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมการดำเนินงานของสถานพยาบาลในทุก ๆ ด้าน ปัจจุบันระบบ MEDHIS แบ่งการให้บริการออกเป็น 2 รูปแบบตามขนาดธุรกิจและจำนวนโมดูล ไม่ว่าจะเป็น
ระบบ MEDHIS : เหมาะสำหรับสถานพยาบาลขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยทั้งแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) มีจำนวน 21 โมดูล ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงพยาบาลตั้งแต่การลงทะเบียน แผนกการให้บริการผู้ป่วยต่าง ๆ การบัญชี และการจ่ายยา ฯลฯ
ระบบ MEDHIS Lite : หรือระบบ MEDHIS ขนาดย่อ (Lite Version) เหมาะสำหรับสถานพยาบาลขนาดเล็กไปจนถึงกลางหรือคลินิก ที่มีรูปแบบการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (OPD Clinics) โดยมีจำนวน 6 โมดูลครอบคลุมการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับระบบ MEDHIS ที่ใช้ในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ให้กับคลินิกแต่ละประเภท เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกเฉพาะทางด้านต่าง ๆ คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกสุขภาพจิต เป็นต้น
ความครบครันของโมดูลในระบบ MEDHIS ที่ครอบคลุมการดำเนินงานและขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยแบบเต็มรูปแบบ (Full Patient Journey) และยังสามารถปรับจำนวนโมดูลให้เหมาะสำหรับสถานพยาบาลขนาดเล็กลงมา ทำให้ทั้ง 2 ระบบนี้จาก MEDcury จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับสถานพยาบาลทุกขนาด และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับระบบสารสนเทศในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการให้บริการผู้ป่วย และรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยในอนาคตได้
MEDHIS ระบบที่เข้าใจผู้ใช้งานอย่างแท้จริง
การออกแบบระบบโรงพยาบาลที่เรียบง่ายน่าใช้งาน และมีขั้นตอนไม่ซับซ้อนเป็นปัจจัยสำคัญในเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน โดยเฉพาะ ‘พยาบาล’ ที่ต้องสัมผัสกับระบบมากที่สุด เพื่อลดเวลาในการทำความเข้าใจและเรียนรู้การทำงานของระบบให้น้อยลงกว่าเดิม
ด้วยประสบการณ์การทำงานในระบบสาธารณสุขไทยมาอย่างยาวนานและพัฒนาระบบโดยทีมงานคนไทย ระบบ MEDHIS จึงคำนึงถึงความคล่องตัวในการใช้งานไว้เป็นอันดับแรกควบคู่กับความปลอดภัยของระบบ ด้วยรูปแบบและหน้าตาของระบบที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน (User-Friendly) พร้อมรองรับการใช้งานระบบเป็นภาษาไทยแบบเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ MEDcury มีทีมงานที่พร้อมจัดฝึกอบรมการมใช้งานระบบทั้งรูปแบบออนไลน์และในสถานที่ (On-site) ให้กับผู้ใช้งานในทุก ๆ ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยคลายข้อกังวลสำหรับผู้บริหารสถานพยาบาลในการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร เพื่อสร้างความมั่นใจในระหว่างการใช้งานและสนับสนุนบุคลากรให้สามารถดำเนินงานแต่ละส่วนงานต่าง ๆ ผ่านระบบ MEDHIS ได้อย่างเต็มกำลัง
จุดเด่นที่ทำให้ระบบ MEDHIS เป็นระบบที่ตอบโจทย์การดำเนินงานของโรงพยาบาลในยุคนี้ คือตัวเลือกของการทำงานผ่านระบบคลาวน์ (On-Cloud) ด้วยระบบเว็บเบส (Web-Based Systems) ที่ช่วยให้บุคลากรในสถานพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลล่าสุดของผู้ป่วย เพียงอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงอุปกรณ์
นอกจากนี้ การลดต้นทุนในการบำรุงรักษา (Maintenance) ของสถานพยาบาลหลายแห่ง ทำให้ตัวเลือกการใช้งานที่กล่าวได้รับความนิยมมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยจุดเด่นของการเลือกใช้รูปแบบดังกล่าว มีดังนี้
รองรับการปรับขนาดธุรกิจ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต
ระบบ On-Cloud เพิ่ม-ลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ยืดหยุ่นมากกว่า
ระบบ Web-Based ที่สามารถใช้งานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ได้ในอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบ Real-Time พร้อมควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงตามที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งได้ (Role-Based Access Control หรือ RBAC)
ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลผ่านการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption)
จุดเด่นเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงข้อจำกัดของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์สารสนเทศในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่การเก็บข้อมูล งบประมาณ จำนวนบุคลากร หรือความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ของระบบโรงพยาบาล ฯลฯ ให้ลดลงได้อีกด้วย
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของระบบ MEDHIS
การใช้กระดาษในสถานพยาบาลคืออีกหนึ่งต้นทุนที่อาจมองข้ามได้ยาก ทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าขนส่ง ค่าจัดเก็บเอกสาร ค่าทำลาย ฯลฯ รวมถึงข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การจัดเก็บและความเสี่ยงในการสูญหายจากทั้งอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ และความเข้าใจผิดที่อาจเกิดจากลายมือแพทย์ในระหว่างการรักษาผู้ป่วย
ระบบ MEDHIS รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลบนระบบ EMR แบบเต็มระบบ ถือเป็นหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยเสริมเป้าหมายการเป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษ (Paperless Hospital) หรือโรงพยาบาลสีเขียว (Green Hospital) ได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยลดปัจจัยทางด้านต้นทุนต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มขึ้นจากการใช้กระดาษ และความเสี่ยงของการจัดเก็บข้อมูลและการบันทึกข้อมูลในรูปแบบเดิม
นอกจากนี้ระบบ MEDHIS ยังออกแบบฟีเจอร์ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฟีเจอร์การแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (Speech to Text) ที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการบันทึกข้อมูล และฟีเจอร์การถ่ายภาพและอัปโหลดภาพ (Taken Photos and Upload Images) ที่สามารถใช้งานผ่านระบบโดยตรงได้ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถบันทึกการวินิจฉัยหรือการรักษาได้คล่องตัวมากขึ้น และที่สำคัญคือการเพิ่มเวลาให้กับบุคลากรทางการแพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นนั่นเอง
การใช้ระบบ EMR ในระบบ MEDHIS ยังสามารถรองรับการเชื่อมต่อ API กับระบบต่าง ๆ ภายในสถานพยาบาลเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของบุคลากรในการวินิจฉัยผู้ป่วย และลดความผิดพลาดของข้อมูลหรือผลตรวจจากระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ระบบงานห้องฉุกเฉิน หรือ ER (Emergency Room)
ระบบที่จัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ หรือ PACS (Picture Archiving and Communication System)
ระบบสารสนเทศทางห้องปฎิบัติการ LIS (Laboratory Information System)
ระบบสารสนเทศด้านรังสีวิทยา หรือ RIS (Radiology Information System)
MEDHIS กับความเชื่อมั่นในมาตรฐานระบบสารสนเทศ
แม้ว่าการนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในโรงพยาบาลจะเป็นสิ่งดึงดูดลูกค้า นักลงทุน หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะ แต่ก็ อาจไม่เพียงพอในการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบันอีกต่อไป เมื่อการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีต้องมาพร้อมกับความมั่นใจและความน่าเชื่อถือที่มากกว่าการมีระบบเพียงอย่างเดียว
มาตรฐาน HIMSS EMRAM (Electronic Medical Record Adoption Model) เป็นมาตรฐานที่ช่วยวัดประสิทธิภาพระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เพื่อช่วยให้สถานพยาบาลสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของสถานพยาบาลในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยและเพิ่มขีดความสามารถในพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานสากล
ระบบ MEDHIS เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ช่วยผลักดันระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ให้ได้รับการรับรอง EMRAM Stage 7 ในปี พ.ศ.2562 ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมาด้วยโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ที่ได้รับการรับรอง EMRAM Stage 7 เช่นเดียวกันในปี พ.ศ.2567
มาตรฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบ MEDHIS ในการผลักดันสถานพยาบาลให้มุ่งสู่มาตรฐานระดับประเทศและระดับสากลอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ด้วยประโยชน์ของการใช้งานผ่านมุมมองของผู้ให้บริการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการรักษา การลดความผิดพลาดทางการแพทย์ การเพิ่มความสะดวกในการทำงานของบุคลากร ฯลฯ และมุมมองของผู้ใช้บริการที่จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลสุขภาของตนเองได้ง่ายขึ้น และความพึงพอใจในการใช้บริการสถานพยาบาล ฯลฯ
ทำไมต้องใช้ระบบ MEDHIS ?
การดำเนินงานในโรงพยาบาลหรือคลินิกไม่ใช่แค่การบริการผู้ป่วย แต่ยังต้องมีการจัดการระบบอย่างมีระเบียบเพื่อให้การให้บริการผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่นตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลใหญ่หรือคลินิกขนาดเล็กต่างก็จำเป็นต้องมีระบบการจัดการอย่างระบบ HIS ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ
หากกำลังมองหาระบบ HIS พร้อมผู้เชี่ยวชาญและทีมซัพพอร์ตลูกค้า (Customer Support) ที่พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล แก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง MEDcury เราพร้อมให้บริการโซลูชันอย่างระบบ MEDHIS และระบบ MEDHIS Lite ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาลที่รองรับการทำงานของสถานพยาบาลทุกขนาด ด้วยความเชื่อมั่นของลูกค้าโรงพยาบาลชั้นนำกว่า 30 โรงพยาบาลและ 50 คลินิกทั่วประเทศไทย และฐานข้อมูลผู้ป่วยภายใต้การดูแลกว่า 3.5 ล้านราย (HN)
ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัท เมดคิวรี จำกัด ที่จะพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยและระบบนิเวศสุขภาพให้แข็งแกร่งและยั่งยืน ผ่านการพัฒนาระบบและปรับปรุงระบบอยู่เสมอเพื่อให้สามารถตอบโจทย์การทำงานของสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงโอกาสของการเชื่อมต่อและการบูรณาการกับระบบต่าง ๆ ในการรองรับความต้องการของตลาดด้านสุขภาพ เพื่อช่วยให้สถานพยาบาลของท่านสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและมุ่งสู่การสร้างระบบนิเวศสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบ MEDHIS และ MEDHIS Lite สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่
โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)
อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น
Facebook : facebook.com/medcury.health/
LinkedIn : linkedin.com/company/medcury
YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury